ข้อสอบวิชา อาญา 2 (LA 207)

“วิชานี้ค่อนข้างยากนะคะ คงต้องตั้งใจอ่านหน่อย เพราะหลักที่ใช้ไม่ค่อยเหมือนเดิม เปลี่ยนเกือบทุกภาค แต่ก็มีของเดิมบ้างเล็กน้อย ที่แน่ๆ ม. 264 ออกทุกภาคแน่นอน มาตราอื่นคงต้องอาศัยเดาใจอาจารย์นะคะ และรุ่นพี่เรา ตกมาซ้ำซ้อนหลายรอบ กว่าจะผ่านได้ ฉะนั้น อย่าได้กังวลค่ะ ตกๆบ่อยๆความรู้จะได้แน่น อิอิ ขอให้โชคดีในการสอบนะคะ หากแนวนี้ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะหากต้องการติชม เชิญที่ block dekhyper.wordpress.com”
กระแต
ข้อสอบวิชา อาญา 2 (LA 207)
ซ่อม ภาค 1 ปี 2553 (ส่วนภูมิภาค)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ข้อ 1. ตำรวจไล่จับคนร้าย เห็นนายจำเป็นเดินผ่านมา จึงเรียกให้ช่วยจับคนร้าย นายจำเป็นวิ่งไล่ตามคนร้ายไปคนเดียว คนร้ายได้ใช้ปืนยิงนายจำเป็นได้รับบาดเจ็บ ดังนี้คนร้ายมีความผิดต่อเจ้าพนักงานประการใดหรือไม่
ข้อ 2. ขณะที่ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องหาไปสถานีตำรวจ กำนันก็มาพูดรับรองกับตำรวจว่าขอเอาตัวผู้ต้องหาไปพูดจากันประเดี๋ยวเดียวแล้วจะส่งคืนโดยที่กำนันมีเจตนาจะช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาหนี ตำรวจจึงได้มอบตัวผู้ต้องหาให้แก่กำนัน โดยตำรวจได้ตามไปนั่งคอยรับตัวผู้ต้องหาอย่างใกล้ชิด แล้วกำนันก็ได้ฉวยโอกาสปล่อยตัวผู้ต้องหาให้หลบหนีไป ดังนี้ กำนันและผู้ต้องหา มีความผิดประการใด
ข้อ 3. นายสิงห์เช่าซื้อรถยนต์ป้ายแดงมาจากบริษัทไทยเจริญ โดยสัญญาเช่าซื้อมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี หลังจากเช่าซื้อไปได้ 1 เดือน นายสิงห์เกิดความไม่พอใจในรถยนต์ นายสิงห์ใช้น้ำมันเบนซินราดไปที่รถยนต์ จากนั้นก็จุดไม่ขีดไฟโยนลงไป ปรากฏว่าไฟไหม้รถยนต์ได้รับความเสียหายทั้งคัน
ดังนี้ นายสิงห์มีความผิดฐานวางเพลิงหรือไม่ เพราะเหตุใด
ข้อ 4. จำเลยเป็นพนักงานบัญชีของธนาคาร มีหน้าที่ควบคุมการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคาร วันเกิดเหตุจำเลยได้พิมพ์ตัวเลขจำนวน 190,000 บาท ลงในช่องของการ์ดบัญชีเงินฝากของธนาคารเพื่อแสดงให้เห็นว่าวันนั้นมีผู้นำเงินมาฝาก จำนวน 190,000 บาท ทั้งๆที่ความจริงแล้ว วันนั้นไม่มีการนำเงิน 190,000 บาท เข้าฝากธนาคารเลย ดังนี้ จำเลยมีความผิดเกี่ยวกับเอกสารหรือไม่ เพราะเหตุใด
มาดูหลักที่ใช้ในการตอบทั้ง4 ข้อกัน
มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 184 ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอกไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 190 ผู้ใดหลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวนหรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวมาในวรรคแรกได้กระทำโดยแหกที่คุมขังโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

มาตรา 191 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดให้ผู้ที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานอัยการ ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา หลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่หลุดพ้นจากการคุมขังไปนั้นเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาจากศาลหนึ่งศาลใดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป หรือมีจำนวนตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

มาตรา 217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 266 ผู้ใดปลอมเอกสารดังต่อไปนี้
(1) เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
(2) พินัยกรรม
(3) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ หรือ
(4) ตั๋วเงิน
(5) บัตรเงินฝาก
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทมา

แนวนะคะ ผิดถูกอย่างไรใช้วิจารณญาณเอาน้าค้า

ข้อ 1. ดูมาตรา 138 ความผิดในการต่อสู้ขัดขวาง เจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่
ข้อ2. ดูมาตรา 157 ความผิดในการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
184 การให้การช่วยเหลือผู้อื่นไม่ต้องรับโทษ
190 ความผิดในการหลบหนีระหว่างการคุมขังในอำนาจศาล
191 ความผิดในการกระทำการให้ผู้ถูกคุมขัง ให้หลุดพ้นจากการคุมขัง
ข้อ 3. ดูมาตรา 217 ความผิดในการวางเพลิง เผาทรัพย์
ข้อ 4. ดูมาตรา 264 ความผิดในการปลอมเอกสาร
265 ความผิดในการปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการ
266 ปลอมเอกสารดังนี้

2 Responses so far »

  1. 1

    supakit said,

    ขอขอบคุณจากใจจริง


Comment RSS · TrackBack URI

ใส่ความเห็น